การดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว

สำนักงานสีเขียว สำนักงานมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมวดที่ ๔

หมวด/ตัวชี้วัด

หลักฐานการตรวจประเมิน

หมวดที่ ๔ การจัดการของเสีย

๔.๑ การจัดการของเสีย

๔.๑.๑ มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและการจัดการขยะอย่างเหมาะสม
มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้
(๑) มีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่างๆ อย่างเหมาะสมทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(๒) มีการติดป้ายบ่งชี้ประเภทขยะอย่างถูกต้องและชัดเจนทุกถังที่สุ่มตรวจสอบ
(๓) มีจุดพักขยะที่เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยจะต้องมีพื้นที่รองรับขยะแต่ละประเภทจากข้อ (๑) อย่างเพียงพอ
(๔) มีการทิ้งขยะถูกต้องทุกจุดที่สุ่มตรวจสอบ
(๕) มีการส่งขยะให้ อปท. หรือผู้รับจ้างที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
(๖) มีการติดตาม ตรวจสอบการกำจัดขยะของผู้รับจ้างให้มีการจัดการอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ  (กรณีส่งให้ อปท.ให้ถือว่ามีการจัดการอย่างเหมาะสม)
(๗) ไม่มีการเผาขยะในบริเวณหรือพื้นที่ของสำนักงาน  (ยกเว้นเตาเผาที่ได้รับการอนุญาตอย่างถูกต้อง)

๔.๑.๑ สำนักงานมหาวิทยาลัยได้มีการดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวม การจัดการขยะอย่างเหมาะสม และมีการคัดแยกขยะตามประเภทขยะที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมภายในสำนักงานและจัดวางถังขยะตามพื้นที่ทำงานต่าง ๆ อย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นใน เรื่องการลดขยะให้เหลือศูนย์ - เพิ่มมูลค่าเป็นพลังงาน ตอบโจทย์การบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน
มีแนวทางดำเนินงานดังนี้
(๑)-(๓) การดำเนินงานตามแนวทางการคัดแยก รวบรวมและการจัดการขยะอย่างเหมาะสม
(๑)-(๗) คู่มือการจัดการชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     - การคัดแยกและการกำจัดขยะ
     - รายงานวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณและองค์ประกอบขยะของจุดพักขยะ
     - ฐานข้อมูลโรงขยะและCBG มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
     - โครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล

สำนักงานมหาวิทยาลัยได้ดำเนินการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความรู้ ความตระหนักในการคัดแยกขยะ
     - วิดีโอส่งเสริมการคัดแยกขยะ
     - การสื่อสารข้อมูลด้านการจัดการขยะของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

๔.๑.๒ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(๑) มีการนำขยะกลับมาใช้ใหม่
(๒) มีการบันทึกข้อมูลปริมาณขยะแต่ละประเภทครบถ้วนทุกเดือน
(๓) มีการวิเคราะห์ปริมาณขยะเทียบค่าเป้าหมายที่ได้กำหนด จากหมวด ๑ ข้อ ๑.๑.๕
(๔) ปริมาณขยะที่ส่งกำจัดมีแนวโน้มลดลง

๔.๑.๒ การนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(๑) มีการนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์หรือนำกลับมาใช้ใหม่ส่งผลให้ขยะที่จะส่งไปกำจัดมีปริมาณน้อยลง
(๒) - (๓)  การบันทึกข้อมูลปริมาณขยะทุกเดือน
(๔) การเก็บข้อมูลปริมาณขยะและการวิเคราะห์
     - โครงการจัดการวัสดุรีไซเคิล
     - สมุดคู่ฝากธนาคารวัสดุรีไซเคิล
     - แบบฟอร์มการเก็บข้อมูลปริมาณขยะอาคารสำนักงาน

๔.๒ การจัดการน้ำเสีย

๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
โดยมีแนวทาง ดังนี้
(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย และจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
(๒) มีการบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ เช่น มีตะแกรงดักเศษ อาหาร มีบ่อดักไขมัน หรือมีระบบบำบัดน้ำเสียเหมาะสมกับองค์ประกอบของน้ำเสีย
(๓) มีการบำบัดน้ำเสียครบทุกจุดที่ปล่อยน้ำเสีย
(๔) มีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด

๔.๒.๑ การจัดการน้ำเสียของสำนักงาน และคุณภาพน้ำทิ้ง จะต้องอยู่ในมาตรฐานกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
(๑) การกำหนดผู้รับผิดชอบดูแลการจัดการน้ำเสีย
(๒) การบำบัดน้ำเสียอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
(๒) การนำน้ำกลับมาใช้ใหม่
(๓)-(๔) สรุปผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำทิ้งที่อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด
     - ประจำปี ๒๕๖๓
     - ประจำปี ๒๕๖๔

 

๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย โดยมีแนวทาง ดังนี้
(๑) มีการดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย หรือมีการตักและทำความสะอาดเศษอาหารและไขมันออกจากตะแกรงดักขยะ หรือบ่อดักไขมันตามความถี่ที่กำหนดอย่างเหมาะสมกับปริมาณและการปนเปื้อน
(๒) มีการนำกากตะกอนจากระบบบำบัดน้ำเสียหรือเศษอาหาร น้ำมันและไขมันจากถัง/บ่อดักไขมันไปกำจัดอย่างถูกต้อง
(๓) มีการตรวจสอบ ปรับปรุง ซ่อมแซมระบบบำบัดน้ำเสียให้สามารถใช้งานและมีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
(๔) มีการตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำเสียอย่างสม่ำเสมอเพื่อป้องกันการปนเปื้อนของน้ำเสียไปยังแหล่งอื่นๆ

 ๔.๒.๒ การดูแลอุปกรณ์บำบัดน้ำเสีย
(๑) บันทึกการตักไขมัน
(๑) ตัวอย่างการตักเศษขยะ ใบไม้ อาหาร ออกจากตะแกรงดักขยะ
(๒) คู่มือการจัดการชีวมวลครบวงจร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
(๓) ตัวอย่าง เอกสารการสำรวจ ซ่อมแซม แนวท่อ
(๔) ตัวอย่างการตรวจสอบ และซ่อมบำรุง ดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย