การดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว

สำนักงานสีเขียว สำนักงานมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมวดที่ ๒

หมวด/ตัวชี้วัด

หลักฐานการตรวจประเมิน

หมวดที่ ๒ การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ
๒.๑ การอบรมให้ความรู้และประเมินความเข้าใจ

๒.๑.๑ กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
(๑) ระบุหลักสูตรและความถี่การอบรมลงในแผนการฝึกอบรม โดยหลักสูตรมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้
- ความสำคัญของสำนักงานสีเขียว
- การใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ
- การจัดการมลพิษและของเสีย
- การจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
- ก๊าซเรือนกระจก
(๒) ดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (๑) โดยผู้รับการอบรมจะต้องมากกว่าร้อยละ ๘๐ ของกลุ่มเป้าหมายในแต่ละหลักสูตร
(๓) ประเมินผลการฝึกอบรม เช่น ข้อสอบประเมินขณะปฏิบัติงาน เป็นต้น
(๔) จัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.๑.๑ กำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมินผล และบันทึกประวัติการฝึกอบรม
     สำนักงานมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดแผนการฝึกอบรม ดำเนินการอบรม การประเมิน และบันทึกประวัติการฝึกอบรม รายละเอียดดังแน
(๑) แผนการดำเนินการให้ความรู้ความเข้าใจโครงการสำนักงานสีเขียว

(๒)-(๓) รายละเอียดการดำเนินการฝึกอบรมตามแผนการฝึกอบรมในข้อ (๑) ดังนี้
  ๑. การบรรยายหัวข้อเรื่อง “สำนักงานสีเขียว Green Office” โดย รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต ผ่านระบบ Join Zoom Meeting (วันที่ ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔)
     - ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
  ๒. การบรรยายหัวข้อเรื่อง “รูปแบบการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว ๖ หมวด” โดย รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต ผ่านระบบ Zoom Meeting (วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔ - เช้า)
     - ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
     - แบบทดสอบ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔ (ช่วงเช้า)
     - ภาพกิจกรรม
  ๓. การอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อเรื่อง “ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่มีนัยยะสำคัญและการจัดการ” และ “การกำหนดเป้าหมายและมาตรการการจัดการทรัพยากรภายในสำนักงาน” (สำหรับคณะกรรมการขับเคลื่อนการจัดการสำนักงานสีเขียวของสำนักงานมหาวิทยาลัย) โดย รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต (วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔ - บ่าย)
     - ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
     - แบบทดสอบ วันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๖๔ (ช่วงบ่าย)
     - ภาพกิจกรรม
  ๔. การบรรยายหัวข้อเรื่อง “ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas)” พร้อมตอบข้อซักถาม ผ่านระบบ Zoom Meeting โดย อาจารย์ ดร.สรัลนุช ภู่พิสิฐ อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔)
     - ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
     - แบบทดสอบ วันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๖๔
     - เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อเรื่อง “ก๊าซเรือนกระจก (Greenhouse Gas)”      
     - วีดีโอประกอบการบรรยาย สาระดีๆ กับ TGO ตอนที่ 1 ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร?
     - วีดีโอประกอบการบรรยาย สาระดีๆ กับ TGO ตอนที่ 2 ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร?
     - ภาพกิจกรรม
  ๕. การบรรยายหัวข้อเรื่อง “โครงการช้างช่างแยก” พร้อมตอบข้อซักถาม ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) โดย รศ.ดร.อิทธิชัย ปรีชาวุฒิพงศ์ (รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ร่วมกับ ผู้อำนวยการกองพัฒนานักศึกษา สำนักงานมหาวิทยาลัย (วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔)
     -ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
     - แบบทดสอบ วันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๖๔
     - เอกสารประกอบการบรรยาย หัวข้อเรื่อง “โครงการช้างช่างแยก”
     - ภาพกิจกรรม
  ๖. การอบรมให้ความรู้และสร้างการมีส่วนร่วมในหัวข้อเรื่อง “ข้อปฏิบัติด้านสุขาภิบาลอาหาร ข้อปฏิบัติสำหรับการทำความสะอาด” และ “ซักซ้อมแผนอัคคีภัย” ให้แก่ร้านค้า/ผู้ประกอบการ/ผู้สัมผัสอาหารและพนักงานทำความสะอาด โดยทีมงานจากกองพัฒนานักศึกษา และทีมงานกองบริหารงานบุคคล (วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๔)
     - ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
     - เอกสารประกอบการบรรยาย "ข้อปฏิบัติด้านสุขาภิบาลอาหารเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office)" สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหาร
     - เอกสารประกอบการบรรยาย "ข้อปฏิบัติสำหรับการทำความสะอาดเพื่อการจัดการสิ่งแวดล้อมสู่การเป็นสำนักงานสีเขียว (Green Office)" สำหรับพนักงานทำความสะอาด
     - เอกสารประกอบการบรรยาย“ซักซ้อมแผนอัคคีภัย”
     - วีดีโอประกอบการบรรยาย “แนวปฏิบัติในการป้องกันและระงับอัคคีภัย”      
     - วีดีโอประกอบการบรรยาย “ชนิดของถังดับเพลิงและการใช้ถังดับเพลิง”
     - วีดีโอประกอบการบรรยาย “๘ วิธีการเอาตัวรอดจากเหตุการณ์ไฟไหม้และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น”
     - แบบทดสอบ วันที่ ๑๑ สิงหาคม ๒๕๖๔
     - ภาพกิจกรรม
๗. การอบรมหัวข้อเรื่อง “การป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย” พร้อมตอบข้อซักถามผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Meeting) Meeting ID: 936 3506 8153 โดย วิทยากรจากงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เทศบาลนครเชียงใหม่ (๒๑ กันยายน ๒๕๖๔)
     - ใบลงทะเบียนและประเมินผลบุคลากร
     - โครงการอบรม เรื่อง “การป้องกันและระงับอัคคีภัยในอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย" ในวันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔ เวลา ๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. ผ่านระบบ ZOOM Online Meeting
     - แบบทดสอบ วันที่ ๒๑ กันยายน ๒๕๖๔
     - ภาพกิจกรรม

(๔) มีการจัดทำประวัติการอบรมของบุคลากร

๒.๑.๒ กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตรมีความเหมาะสม
(๑) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องเข้าใจเนื้อหาในการอบรม
(๒) ผู้รับผิดชอบในการอบรมจะต้องมีหลักฐานแสดงความสามารถ เช่น ใบรับรองจากหน่วยงานภายนอก ประวัติ ประสบการณ์

 

 

 

 

๒.๑.๒ กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรมแต่ละหลักสูตร
     สำนักงานมหาวิทยาลัยได้มีการกำหนดผู้รับผิดชอบในการอบรมแต่ละหลักสูตร ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ความสามารถ เข้าใจเนื้อหาในการอบรม รายละเอียดดังแนบ
(๑)-(๒) ประวัติวิทยากร (รศ.ดร.สยาม อรุณศรีมรกต)
(๑)-(๒) ประวัติวิทยากร (รศ.ดร.อิทธิชัย ปรีชาวุฒิพงศ์)
(๑)-(๒) ประวัติวิทยากร (อ.ดร.สรัลนุช ภู่พิสิฐ)
(๑)-(๒) ประวัติวิทยากร (นางอัจฉรา ศรีพลากิจ) 

กำหนดผู้รับผิดชอบด้านการอบรม :
คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียว และศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

๒.๒ การรณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน
๒.๒.๑ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
 (๑) กำหนดหัวข้อและความถี่การสื่อสารอย่างน้อย ดังนี้
หัวข้อ ความถี่
๑. นโยบายสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๒. ปัญหาสิ่งแวดล้อมที่มีนัยสำคัญและการจัดการ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๓. การปฏิบัติตามกฎหมาย ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๔. ความสะอาดและความเป็นระเบียบ (5ส.) ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๕. เป้าหมายและมาตรการพลังงาน-ทรัพยากร (ได้แก่ น้ำ ไฟฟ้า น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซหุงต้ม กระดาษ และอื่นๆ) ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๖. เป้าหมายและมาตรการจัดการของเสีย ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๗. ผลการใช้ทรัพยากร พลังงาน และของเสีย ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๘.สินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลง
๙. ก๊าซเรือนกระจก ทุกเดือน

(๒) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
(๓) กำหนดกลุ่มเป้าหมายรับเรื่องสื่อสาร (ผู้ที่เกี่ยวข้องที่อยู่ภายในและภายนอกสำนักงาน)
(๔) กำหนดผู้รับผิดชอบในการสื่อสาร

๒.๒.๑ การกำหนดผู้รับผิดชอบและแนวทางสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสำนักงาน
(๑) แผนการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม
(๒) กำหนดช่องทางการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพกับหัวข้อการสื่อสารและองค์กร (ไม่จำกัดจำนวนช่องทาง)
๑. เว็บไซต์สำนักงานมหาวิทยาลัย https://greenoffice.oou.cmu.ac.th/
๒. Face book สำนักงานมหาวิทยาลัย https://www.facebook.com/oou.cmu
๓. Line application ประกอบด้วย
- กลุ่ม Line บุคลากรสำนักงานมหาวิทยาลัย (อาคาร ๒)
- กลุ่ม Line แม่บ้านทำความสะอาดพื้นที่ (อาคาร ๒)
- กลุ่ม Line ผู้ประกอบการร้านอาหาร (อาคาร ๒)
- กลุ่ม Line แม่บ้านทำความสะอาดพื้นที่ (มช.)
- กลุ่ม Line คณะทำงานขับเคลื่อน CMU Green Office
- กลุ่ม Line คณะทำงาน SDD Green Office

    

๒.๒.๒ มีการรณรงค์สื่อสารและให้ความรู้ตามที่กำหนดในข้อ ๒.๒.๑

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.๒.๒ รณรงค์และประชาสัมพันธ์แก่พนักงาน
 ๑. ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง นโยบายการจัดการสำนักงานสีเขียว (Green Office)
ลงวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านลิงก์ https://hr.oop.cmu.ac.th/greenoffice/
หรือ QR code


 

 ๒. โปสเตอร์ มาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านลิงก์ https://hr.oop.cmu.ac.th/greenoffice/ หรือ QR code

 ๓. มาตรการประหยัดทรัพยากรและพลังงาน ในรูปแบบ e-book โดยสามารถเข้าถึงได้ผ่านลิงก์ https://cmu.to/ebookGreenOffice หรือ QR code

 ๔. ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และการมีส่วนร่วมของบุคลากรสำนักงานมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับ “แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย” และ “การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน” สำนักงานมหาวิทยาลัย (อาคาร 2) ตามลิงก์แนบ https://cmu.to/0VuKZ โดยประชาสัมพันธ์
  - เว็บไซต์สำนักงานมหาวิทยาลัย https://greenoffice.oou.cmu.ac.th/
  - Face book สำนักงานมหาวิทยาลัย https://www.facebook.com/oou.cmu
  - Line application สำนักงานมหาวิทยาลัย

 ๕. สรุปการสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจและสร้างความตระหนักรู้ให้กับบุคลากรผ่านช่องทางการสื่อสาร https://cmu.to/pE1Lj และถือปฏิบัติตามมาตรการลดการใช้กระดาษ (Paperless)

 ๖. จัดทำ infographic เกี่ยวกับมาตรการประหยัดทรัพยากร สร้างการรับรู้ให้บุคลากรตระหนักและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและคุ้มค่า

 ๗. บอร์ดประชาสัมพันธ์สำนักงานมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างการรับรู้ของบุคลากร ประกาศให้บุคลากรรับทราบ

๒.๒.๓ ร้อยละความเข้าใจนโยบายสิ่งแวดล้อมและการดำเนินงานสำนักงานสีเขียว (สุ่มอย่างน้อย ๔ คน) โดยจะต้องสอบถามพนักงานแต่ละคนอย่างน้อยตามข้อ ๒.๒.๑(๑)

จากการสัมภาษณ์

 

๒.๒.๔ มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม และนำมาปรับปรุงแก้ไขโดยต้องมีแนวทาง ดังนี้
(๑) มีช่องทางเพื่อรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ไลน์ QR Code การประชุมเว็บไซต์
(๒) มีผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น
(๓) มีการแสดงข้อเสนอแนะด้านสิ่งแวดล้อมและการจัดการ
(๔) มีการรายงานข้อเสนอแนะและการจัดการแก่ผู้บริหาร(บรรยายให้เหมาะสม)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

๒.๒.๔ มีช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อม
(๑) ช่องทางรับข้อเสนอแนะ/ข้อเสนอแนะ/ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อม https://greenoffice.oou.cmu.ac.th/contact-us
หรือทาง E-mail : greenoffice@cmu.ac.th

(๑-๒)  แนวทางการรับข้อเสนอแนะข้อคิดเห็นด้านสิ่งแวดล้อมและขั้นตอนการปรับปรุงแก้ไข

(๒) ผู้รับผิดชอบในการรับข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นผู้รับผิดชอบ :
คณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียว (Green Office)
ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์
และกำหนดผู้รับเรื่อง : นายขจรศักดิ์ ตันจ้อย เบอร์โทรศัพท์ 053-941159

(๓) รายงานประเด็นพบปัญหา/ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมสำนักงานมหาวิทยาลัย (อาคาร ๒) และการแก้ไข

(๔) รายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการสำนักงานสีเขียว (รับทราบประเด็นพบปัญหา/ข้อร้องเรียนด้านสิ่งแวดล้อมสำนักงานมหาวิทยาลัย อาคาร 2 และการแก้ไข)

เอกสารประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้
- หมวด 5 เตรียมความพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
- หมวด 5 E-book แผนป้องกันและระงับอัคคีภัยและการเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน
- หมวด 6 E-book บัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (การจัดซื้อ)