การดำเนินงานตามเกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว

สำนักงานสีเขียว สำนักงานมหาวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

หมวดที่ ๕

หมวด/ตัวชี้วัด

หลักฐานการตรวจประเมิน

หมวดที่ ๕ สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย

๕.๑ อากาศในสำนักงาน

๕.๑.๑ การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
(๑) มีแผนการดูแลรักษา ได้แก่ เครื่องปรับอากาศ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องพิมพ์เอกสาร (Printer) พรมปูพื้นห้อง (ขึ้นอยู่กับสำนักงาน)
(๒) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบตาม แผนการดูแลรักษา
(๓) มีการปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ ๑
(๔) มีการควบคุมมลพิษทางอากาศจากการปฏิบัติในข้อ ๑
(๕) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
(๖) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
(๗) การป้องกันและกำจัดแมลงที่จะสร้างมลพิษทางอากาศภายในสำนักงาน (ถ้ามี)
(๘) มีการสื่อสารหรือแจ้งให้ทราบถึงการเกิดมลพิษทางอากาศจากกิจกรรมต่างๆ เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย (สามารถพิจารณาจากเอกสารหรือภาพถ่าย เป็นหลักฐานประกอบ)

 

 

 

 

๕.๑.๑ การควบคุมมลพิษทางอากาศในสำนักงาน
(๑)-(๒) แผนการบำรุงรักษาประจำปี ๒๕๖๔
   - สัญญาจ้างทำความสะอาด
   - แผนการบำรุงรักษารถยนต์
   - การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศ
   - แผนทำความสะอาด
(๓) การปฏิบัติตามแผนที่กำหนดในข้อ ๑
   - รายงานการบำรุงรักษาลิฟต์
   - รายงานการตรวจสอบสภาพเครื่องปริ้น
   - รายงานการตรวจสภาพความพร้อมใช้งานรถยนต์ของสำนักงานมหาวิทยาลัย
   - รายงานการนำรถยนต์เข้าศูนย์บริการเพื่อตรวจ เช็ค ซ่อมตามระยะทาง 
   - รายงานการตรวจรับงานจ้างติดตั้งตาข่ายป้องกันนก
(๕) การจัดวางเครื่องปริ้นเตอร์ เครื่องถ่ายเอกสารให้ห่างไกลผู้ปฏิบัติงาน
(๔),(๖) การควบคุมควันไอเสียรถยนต์บริเวณสำนักงาน เช่น ติดป้ายดับเครื่องยนต์
(๗) แผนการควบคุมพาหะนำเชื้อ สำนักงานมหาวิทยาลัยอาคาร ๒
(๘) แผนการสื่อสาร ๒.๑.๑(๑)
(๘) การสื่อสารหรือการแจ้งให้ทราบถึงการจัดการมลพิษทางอากาศ

(ร่าง) สัญญาจ้างทำความสะอาด ประจำปี ๒๕๖๓ (รายละเอียด หน้า ๓๕ ข้อ ๕.๗.๓)
๕.๑.๒ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่หรือมีการกำหนด พื้นที่สูบบุหรี่ที่เหมาะสมและปฏิบัติตามที่กำหนด
(๑) มีการรณรงค์การไม่สูบบุหรี่
(๒) มีการติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่
(๓) มีการติดสัญลักษณ์เขตสูบบุหรี่
(๔) เขตสูบบุหรี่จะต้องไม่อยู่ในบริเวณที่ก่อให้เกิด ความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่บริเวณ ข้างเคียง ไม่อยู่ในบริเวณทางเข้า ออกของ สถานที่ที่ให้มีการคุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่ และไม่อยู่ในบริเวณที่เปิดเผยอันเป็นที่เห็นได้ชัดแก่ผู้มาใช้สถานที่นั้น
(๕) ไม่พบการสูบบุหรี่ หรือก้นบุหรี่นอกเขตสูบบุหรี่

๕.๑.๒ มีการรณรงค์ไม่สูบบุหรี่ โดยมหาวิทยาลัยใหม่ ได้มีการออกประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง มาตราการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ดังเอกสารแนบ
ประกาศ มช. มาตราการป้องกันและแก้ไขปัญหาการสูบบุหรี่และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
- การติดสัญลักษณ์เขตปลอดบุหรี่

๕.๑.๓ การจัดการมลพิษอากาศจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงานที่ส่งผลต่อพนักงาน
(๑) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการมลพิษ อากาศจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(๒) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) แนวทางการกำหนดมาตรการมีดังนี้
มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงานมีที่กั้นเพื่อกันมลพิษทางอากาศกระทบกับพนักงานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องมีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

(๑)-(๒) มาตราการด้านอากาศ
- ตัวอย่าง TOR งานจ้างก่อสร้างอาคาร

๕.๒ แสงในสำนักงาน

๕.๒.๑ มีการตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง (โดยอุปกรณ์การตรวจวัดความเข้มแสงที่ได้มาตรฐาน) และดำเนินการแก้ไขตามที่มาตรฐานกำหนด
(๑) มีการตรวจวัดความเข้มแสงประจำปีพร้อม แสดงหลักฐานผลการตรวจวัดแสงเฉพาะจุด ทำงานแลพื้นที่ทำงาน
(๒)  เครื่องวัดแสงจะต้องมีมาตรฐานและได้รับการสอบเทียบ (แสดงหลักฐานใบรับรอง)
(๓) ผลการตรวจวัดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานกฎหมายกำหนด
(๔) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสงจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด

๕.๒.๑ การตรวจวัดความเข้มของแสงสว่าง ดังแนบ
(๑)-(๓) รายงานการวัดความเข้มของแสงสว่าง
(๓) หนังสือรับรองการตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงานภายในห้องปฏิบัติการ
(๔) ผู้ที่ตรวจวัดความเข้มแสง /เสียง
     - นายพงศกร เรือนคำ
     - นางสาวศุภิสรา ระตะขันธ์

- แผนการปรับปรุงความเข้มแสงสว่าง

๕.๓ เสียง

๕.๓.๑ การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร สำนักงาน
(๑) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน
(๒) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายในสำนักงาน

๕.๓.๑ การควบคุมมลพิษทางเสียงภายในอาคาร
(๑)-(๒) รายงานการวัดเสียง


๕.๓.๒ การจัดการเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ ในสำนักงาน
ที่ส่งผลต่อพนักงาน
(๑) กำหนดมาตรการรองรับเพื่อจัดการเสียงดังที่ เกิดจากการก่อสร้างปรับปรุงอาคาร
(๒) ปฏิบัติตามมาตรการที่ได้กำหนดในข้อ(๑) ถ้าพบว่ามีเสียงดังที่มาจากภายนอกสำนักงาน แนวทางการกำหนดมาตรการ มีดังนี้
      – มีพื้นที่ทำงานสำรองให้กับพนักงาน
      – มีการสื่อสารหรือติดป้ายแจ้งเตือน เพื่อการเตรียมความพร้อมและระวังการได้รับอันตราย

๕.๓.๒ สำนักงานมหาวิทยาลัยมีการจัดทำรายงานเสียงดังจากการก่อสร้าง ปรับปรุงอาคารหรืออื่นๆ โดยทำการตรวจรับระหว่างวันที่ ๒๐ - ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๖๔ โดยเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารดังแนบ
(๑)-(๒) รายงานการวัดเสียง
มาตรการในการควบคุมเสียงในสำนักงาน

๕.๔ ความน่าอยู่

๕.๔.๑ มีการวางแผนจัดการความน่าอยู่ของ สำนักงานโดยจะต้องดำเนินการดังนี้
(๑) จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร โดยจะต้องกำหนดพื้นที่ใช้งานอย่างชัดเจน เช่น พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่สีเขียว พื้นที่ส่วนรวมและพื้นที่ทำงาน เป็นต้น สามารถสื่อสารด้วยป้ายหรืออื่นๆ ที่เหมาะสมเพื่อบ่งชี้
(๒) มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบอย่าง เหมาะสมทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งใน อาคารและนอกอาคาร
(๓) มีการกำหนดเวลาในการดูแลรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อย ทั้งพื้นที่เฉพาะและพื้นที่ทั่วไป ทั้งในอาคารและนอกอาคาร
(๔) การกำหนดแผนงานการเพิ่มพื้นที่สีเขียว และคงรักษาไว้ของสำนักงานรวมไปถึงมีการปฏิบัติ จริงตามแผนงาน

๕.๔.๑ การวางแผนจัดการความน่าอยู่ขอ สำนักงานโดยดำเนินการดังนี้ 
(๑) แผนผังสำนักงาน
(๑)-(๓) แผนการดูแลพื้นที่ของสำนักงาน ปี 2564
(๔) แผนการเพิ่มพื้นที่สีเขียว

๕.๔.๒ ร้อยละการใช้สอยพื้นที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่สำนักงานกำหนด จัดทำแผนผังของสำนักงานทั้งในตัวอาคารและ นอกอาคาร
แผนผังสำนักงาน
๕.๔.๓ ร้อยละการดูแลบำรุงรักษาพื้นที่ต่างๆ เช่น พื้นที่สีเขียว พื้นที่พักผ่อนหย่อนใจ พื้นที่ส่วนกลาง และพื้นที่ทำงาน เป็นต้น

๕.๔.๓ การดูแลรักษาพื้นที่ต่างๆ
แผนผังสำนักงาน
- ผลการจัดกิจกรรมวันทำความสะอาดครั้งใหญ่
- ตัวอย่างภาพกิจกรรม ๕ส

๕.๔.๔ มีการควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
(๑) มีการกำหนดแนวทางการป้องกันสัตว์พาหะนำโรคในสำนักงานอย่างเหมาะสม ได้แก่ นกพิราบ หนู แมลงสาบ และอื่นๆ
(๒) มีการกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรคอย่างน้อยที่สุดเดือนละ ๑ ครั้ง
(๓) มีการตรวจสอบร่องรอยตามความถี่ที่ได้กำหนด (เฉพาะตอนกลางวัน)
(๔) มีแนวทางที่เหมาะสมกับการจัดการเมื่อพบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
(๕) ไม่พบร่องรอยหรือสัตว์นำโรคในระหว่างการตรวจประเมินของกรมฯ
หมายเหตุ : การควบคุมสัตว์พาหะนำโรค สำนักงานสามารถควบคุมและจัดการได้เอง หรือว่าจ้างหน่วยงานเฉพาะมาดำเนินการแทน

๕.๔.๔  การควบคุมสัตว์พาหะนำโรคและดำเนินการได้ตามที่กำหนด
(๑)-(๒),(๔) แผนการดูแลความสะอาด นก หนู แมลงสาบ
(๒) การกำหนดความถี่ในการตรวจสอบร่องรอยสัตว์พาหะนำโรค
(๓) บันทึกผลการตรวจสอบร่องรอยสัตว์
  - เอกสารตรวจรับงานจ้างติดตั้งตาข่ายป้องกันนก

๕.๕ การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉิน

๕.๕.๑ การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ ตามแผนที่กำหนด
(๑) มีการกำหนดแผนการฝึกอบรมและอพยพหนีไฟ
(๒) จำนวนคนเข้าอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงขั้นต้น จะต้องไม่ต่ำกว่า ร้อยละ ๔๐ ของพนักงานทั้งหมด
(๓) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
(๔) มีการอบรมดับเพลิงขั้นต้นตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรองการอบรม ภาพถ่าย เป็นต้น
(๕) มีการฝึกซ้อมอพยพตามแผนที่กำหนด พร้อมแสดงหลักฐาน เช่น ใบรับรอง ภาพถ่าย เป็นต้น
(๖) มีการจุดรวมพลที่สามารถรองรับได้ พร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
(๗) มีการกำหนดเส้นทางหนีไฟ ธงนำทางหนีไฟไปยังจุดรวมพลพร้อมสื่อสารในพื้นที่ปฏิบัติงาน
(๘) มีการกำหนดทางออกฉุกเฉิน ทางหนีไฟพร้อมมีป้ายแสดงอย่างชัดเจน
๕.๕.๑ การอบรมฝึกซ้อมดับเพลิงและอพยพหนีไฟ
(๑) แผนการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องแผนป้องกันระงับอัคคีภัยและแผ่นดินไหวในอาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย
(๑),(๓) โครงการอบรม เรื่อง แผนป้องกันระงับอัคคีภัย และแผ่นดินไหว หมายเหตุ: (๓) พนักงานทุกคนจะต้องเข้าฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง อ้างอิงเอกสารโครงการอบรมฯ หน้า ๒ หัวข้อที่ ๔
(๒) จำนวนคนเข้าอบรมการดับเพลิงเบื้องต้น และอพยพหนีไฟ
(๔-๑) ใบรับรองการอบรมผลการฝึกอบรมการดับเพลิงขั้นต้น
(๔-๒) ภาพถ่ายการอบรมดับเพลิงขั้นต้น
(๕-๑) ใบรับรองการอบรมผลการฝึกซ้อมดับเพลิงและฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
(๕-๒) ภาพถ่ายการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟ
(๖) จุดรวมพล
(๗) แผนผังเส้นทางหนีไฟ
(๘) สัญลักษณ์ทางหนีไฟ
๕.๕.๒ มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม และร้อยละของพนักงานที่เข้าใจแผนฉุกเฉิน (สุ่มสอบถามอย่างน้อย ๔ คน) ๕.๕.๒ มีแผนฉุกเฉินที่เป็นปัจจุบันและเหมาะสม
(๑) การจัดทำแผนฉุกเฉิน (แผนป้องกันและระงับอัคคีภายสำนักงานมหาวิทยาลัย)
(๒) การสร้างการรับรู้และรณรงค์การป้องกันการเกิดอัคคีภัย
(๓) ป้ายรณรงค์ป้องกันอัคคีภัย/สร้างการรับรู้เพื่อป้องกันการเกิดอัคคีภัย
๕.๕.๓ ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย และระบบสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้และร้อยละของ พนักงานทราบวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ ดังกล่าว (สุ่มสอบถามอย่างน้อย ๔ คน)
(๑) มีการติดตั้งและเตรียมอุปกรณ์ดับเพลิง
      – ถังดับเพลิงมีเพียงพอต่อการใช้งาน (กำหนดระยะห่างอย่างน้อย ๒๐ เมตร/ถัง ตามกฎหมาย ติดตั้งสูงจาก พื้นไม่เกิน ๑๕๐ เซนติเมตร นับจากคันบีบและถ้าเป็นวางกับพื้นที่จะต้องมีฐานรองรับ) พร้อมกับติดป้ายแสดง
      – ติดตั้งระบบเครื่องสูบน้ำดับเพลิง (ถ้ามี)
      – สายฉีดน้ำดับเพลิงและตู้เก็บสายฉีด (Hose and Hose Station) ถ้ามี
(๒) ติดตั้งระบบสัญญาณแจ้งเตือนและต้องพร้อมใช้งาน
      – สัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้ (พื้นที่ มากกว่า ๓๐๐ ตารางเมตรหรืออาคารสูงเกิน ๒ ชั้นขึ้นไป)
      – ติดตั้งตัวดักจับควัน(smoke detector)หรือความร้อน (heat detector)
(๓) มีการตรวจสอบข้อ (๑)-(๒) และหากพบว่าชำรุดจะต้องดำเนินการแจ้งซ่อมและแก้ไข
(๔) พนักงานจะต้องเข้าใจถึงวิธีการใช้และตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงและสัญญาณแจ้ง เตือนอย่างน้อยร้อยละ ๗๕ จากที่สุ่มสอบถาม
(๕) ไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเหตุเพลิงไหม้
๕.๕.๓ ความเพียงพอและการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ระบบดับเพลิงและป้องกันอัคคีภัย
(๑), (๕) จุดติดตั้งถังดับเพลิง จำนวนถังดับเพลิง และไม่มีสิ่งกีดขวางอุปกรณ์ดับเพลิง และสัญญาณ แจ้งเหตุเพลิงไหม้
(๒) สัญลักษณ์ทางหนีไฟ-จุดติดตั้งถังดับเพลิง และสัญญาณแจ้งเตือน
(๓)-(๔) แผนการบำรุงรักษาถังดับเพลิง
(๓) การตรวจสอบถังดับเพลิง ประจำปี ๒๕๖๔
(๓) บันทึกการตรวจสอบสภาพถังดับเพลิง
(๔) สำนักงานมหาวิทยาลัย มีหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการตรวจสอบอุปกรณ์ดับเพลิงตามแผนการบำรุงรักษาถังดับเพลิง โดยศูนย์บริหารจัดการเมืองอัจฉริยะมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (SCMC) และสำนักงานมหาวิทยาลัยได้มีการสื่อสารสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับบุคลากร เกี่ยวกับแผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินสำนักงานมหาวิทยาลัย (อาคาร ๒) รวมถึงวิธีการใช้งานถังดับเพลิง ผ่านลิงค์ https://cmu.to/0VuKZ
(๕) จุดติดตั้งถังดับเพลิง อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย ๒
เอกสารแนบเพิ่มเติม
๕.๑ ประกาศ สำนักงานมหาวิทยาลัย มช. เรื่อง มาตรการประหยัดพลังงาน (ฉบับปรับปรุง) ประกาศ ณ วันที่ 26 กรกฎาคม 2564
๕.๒ ประกาศ สำนักงานมหาวิทยาลัย เรื่อง การกำหนดบริบทองค์กรและขอบเขตของการจัดการสิ่งแวดล้อม อาคารสำนักงานมหาวิทยาลัย 2
๕.๓ แนวปฏิบัติในการจัดซื้อจัดจ้างพัสดุที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๕.๔ บัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
๕.๕ แผนป้องกันและระงับอัคคีภัย การเตรียมพร้อมต่อสภาวะฉุกเฉินสำนักงานมหาวิทยาลัย (อาคาร ๒) รวมถึงวิธีการใช้งานถังดับเพลิง